Learn more about
Filler
หรือสารเติมเต็ม ซึ่งสมัยก่อนการฉีดสารเติมเต็มคือฉีดเพื่อไปเติมในส่วนที่ขาดหายไปของบริเวณใบหน้าหรืออวัยวะอื่นๆ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งตัวสารมีให้เลือกใช้เยอะมากมาย ทั้งถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมาย แต่สารที่ปัจจุบันทางการแพทย์นิยมนำมาใช้และได้ผ่านการวิจัยมายาวนานว่ามีความปลอดภัยมากที่สุดคือ สาร Hyaluronic acid หรือเรียกสั้นๆว่า HA ซึ่งเป็นสารที่ปลอดภัย ช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่เซลล์ผิว และยังสามารถสลายได้ตามอายุของแต่ละผลิตภัณฑ์ ซึ่งสาร HAนั้น สามารถนำมาฉีดได้หลายส่วนบริเวณใบหน้า อาทิเช่น ขมับ ใต้ตา ร่องแก้ม แก้มตอบ คาง ปาก ร่องน้ำหมาก หรือช่วยยกกระชับใบหน้าได้ เป็นต้น
Fillerหรือสารเติมเต็มเหมาะกับใคร ?
สารเติมเต็มในที่นี้ทางคลินิกขอหมายถึงแต่สาร HA เพียงอย่างเดียว ซึ่งฟิลเลอร์นั้นเหมาะสำหรับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัยที่ต้องการเติมเต็มในส่วนที่ขาดหาย หรือเติมเต็มในส่วนที่ตัวเองยังรู้สึกขาดเพื่อเพิ่มความมั่นใจ ปรับโหงวเฮ้ง เพื่อให้ดูดีขึ้นได้เป็นต้น
Filler สามารถนำไปฉีดตรงไหนได้บ้าง ?
Filler ขมับ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น หรือ ดัดฟัน อาจทำให้โครงสร้าง กระดูกและกล้ามเนื้อบริเวณขมับเกิดการยุบตัวลงทำให้ใบหน้าดูมีอายุมากขึ้น อาจทำให้คนไข้บางคนรู้สึกโทรม หรือไม่เข้ากับโหงวเฮ้งของใบหน้า สามารถฉีดฟิลเลอร์เพื่อเติมเต็มในขมับปรับโครงหน้าและช่วยยกกระชับในใบหน้าได้ ส่วนใหญ่ใช้ฟิลเลอร์ประมาณ 2-4 cc ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
ผลิตภัณฑ์ของฟิลเลอร์แต่ละแบรนด์
ข้อปฏิบัติก่อนทำหัตถการ
-
งดทานวิตามินทุกชนิด ยาแอสไพริน และยากลุ่มNSAIDs 1-2 สัปดาห์ก่อนการทำ
-
งดการดื่มแอลกอฮอล์
-
แจ้งโรคประจำตัวหรือยาที่ใช้เป็นประจำให้แพทย์ทราบ
-
ไม่เป็นโรคผิวหนังที่อักเสบ หรือติดเชื้อรุนแรงบริเวณที่จะทำการรักษา
ข้อปฏิบัติหลังทำหัตถการ
-
งดการดื่มแอลกอฮอล์ชนิดอย่างน้อย 7 วัน
-
ลด/งด การทานอาหารหมักหรืออาหารดอง
-
งดแต่งหน้าทาครีมบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์อย่างน้อย 24 ชั่วโมง
-
ลดทานอาหารที่หวานจัดหรือเค็มจัด
-
งดการซาวน่า หรือออกกำลังการหนัก
-
หลีกเลี่ยงการแตะ เกา หรือกดนวดในจุดที่ฉีด
-
งดการเลเซอร์ที่ลงชั้นผิวลึกทุกชนิด อย่างน้อย 2 อาทิตย์
-
หลังฉีดควรดื่มน้ำมากๆ ประมาณวันละ 8-12 แก้วต่อวัน
อันตรายจากฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน
-
การย้อยเป็นก้อนแข็ง(migration) ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนบวม แข็ง ย่อยสลายไม่หมด หรือไม่สามารถย่อยสลายได้
-
แพ้บวมแดง(reaction,granuloma) ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนแข็งเมื่อเวลาผ่านไป 3-5 ปี
-
การอักเสบติดเชื้อ(infection) เป็นหนองอุดตัน
-
เนื้อตาย เกิดจากการอุดตันในเส้นเลือด (necrosis) ทำให้เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงเซลล์ได้ จะพบได้บ่อยที่สุดในฟิลเลอร์เนื้อแข็งหรือฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือการเติมไขมัน (Transplanted fat)
-
ตาบอด(blindness) ฟิลเลอร์เข้าไปในเส้นเลือดแดง และฟิลเลอร์อุดตันเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณดวงตา ส่งผลให้จอประสาทตาตาย (Retinal Artery Occlusion) มักจะมีอาการปวดหัวหรือกระบอกตาร่วมด้วยทันทีหลังฉีด
ฟิลเลอร์ฉีดสลายได้ไหม
การฉีดสลายสามารถทำได้ ซึ่งการฉีดสลายฟิลเลอร์คือการฉีด เอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดส (Hyaluronidase) เข้าไปที่ใต้ชั้นผิวหนังเพื่อสลายเนื้อฟิลเลอร์ที่ทำมาจากHAเท่านั้น โดยการทำงานของเอนไซม์ตัวนี้จะเข้าไปลดการกักเก็บน้ำ ไขมัน และลดการยึดเกาะของฟิลเลอร์ทำให้ผิวบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ กลับมาเรียบเสมอกันได้ ให้ใกล้เคียงกับช่วงก่อนฉีดฟิลเลอร์มากที่สุด เป็นวิธีที่ไม่มีผลข้างเคียงอันตรายใดๆ
ปกติจะใช้แก้ปัญหาเมื่อมีการฉีดฟิลเลอร์แล้วเกิดอาการบวม หรือฉีดผิดตำแหน่งผิดชั้น แต่หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไปจะส่งผลให้คอลลาเจนที่กักเก็บอยู่ในชั้นผิวนั้นมีการสลายได้ การฉีดสลายฟิลเลอร์นั้นจะออกฤทธิ์หลังจากฉีดทันที ฟิลเลอร์จะมีลักษณะนุ่มและเหลวขึ้นจนค่อยๆสลายไปหมด และสามารถกลับมาฉีดฟิลเลอร์แก้ไขซ้ำได้หลัง 7 วัน จากการฉีดสลายฟิลเลอร์